ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
(Situational Management Theory)
นักบริหารที่เป็นผู้เสนอแนวความคิดทางการบริหารนี้ คือ Fred E.Fiedler (1967 ;อ้างถึงใน ภารดี อนันต์นาวี, 2553 : 48) ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์(Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory)ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับในเชิงสภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุดหากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้การบริหารแบบใดในสภาวการณ์เช่นนั้น หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์นั้นถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจและรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุดโดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิดและยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การสถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาดบางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจบางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจบางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลักการบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ
หลักการของการบริหารเชิงสถานการณ์
1. การบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2. ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3. เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด ยอมรับหลักการของทฤษฎีทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกัน และกัน
4. สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัย ทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
6. เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
6.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล
6.2 ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน
6.3 ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร
6.4 ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ
ข้อดีของทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
1. ให้แง่คิดในรูปธรรมที่ว่า “ไม่มีวิธีการแบบใดดีที่สุด” นั่นคือแนวคิดที่ว่าการบริหารงานนั้นเหมือนตำรากับข้าวสามารถให้แนวคิดแนวปฏิบัติแบบหนึ่งต้องทำอะไรบ้าง สอง…และสาม…ดังนี้ คำตอบทางการศึกษาที่ได้ตามมาก็คือคงไม่มีวิธีใดที่จะดำเนินการได้ดีที่สุดเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรหรือการต่อรองค่าจ้างเงินเดือน
2. ให้แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงใด ๆไปเล็กน้อยเกี่ยวกับองค์ประกอบหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อระบบโดยทั่วไปเช่นในชุมชนที่เปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายการให้บริการของโรงเรียนก็ต้องเปลี่ยนตามความรู้ทักษะแม้แต่ลักษณะผู้สอนผู้ให้บริการก็ต้องเปลี่ยนตามผู้บริหารตามแนวทางนี้จะต้องตื่นตัวต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงในสังคมอยู่เสมอ
3. ให้การสะท้อนภาพที่แท้จริงต่อผู้บริหารว่า งานของการบริหารนั้นมันซับซ้อนการจะหาคำตอบใด ๆ แบบให้ง่าย ๆ คงจะเป็นไปไม่ได้ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้รู้รอบใฝ่รู้มีข้อมูลอยู่เสมอและให้คำตอบในคำถามที่ว่าทำไมงานผู้บริหารจึงไม่มีวันสิ้นสุดทำไมศาสตร์การบริหารจึงต้องศึกษาอยู่เสมอ
ข้อเสียของทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
1. การให้ผู้บริหารตื่นตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ และตัดสินในปัญหาต่างๆตามสถานการณ์อาจทำให้มีคนคิดว่า การที่จะตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆเป็นอย่างดีแล้วจะทำให้การบริหารงานทั้งหมดดีไปเอง ข้อเสนอแนะก็คือในกรณีที่การตัดสินใจปัญหาปลีกย่อยจำนวนมาก ๆ ให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญอยู่แต่การที่จะต้องตัดสินใจในปัญหาใหญ่ ๆ หลัก ๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันผู้บริหารจำเป็นต้องมีภาพรวมของบทบาทตนเอง องค์การและสภาพแวดล้อมภาพรวมเหล่านี้จำเป็นและเป็นแนวทางในการตัดสินในปัญหาปลีกย่อยรอง ๆ ลงมาทั้งหลาย
2. ทฤษฎีสถานการณ์ทำให้มองดูเหมือนว่า เป็นเรื่องไม่มีคุณค่ามาเกี่ยวข้ององค์ประกอบอันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม องค์การและตัวอื่น ๆนับเป็นเหมือนสิ่งที่เราต้องตระหนักและแสดงปฏิกิริยาตอบถ้าเป็นเช่นนั้นผู้บริหารก็จะไม่ต่างอะไรไปจากบาโรมิเตอร์วัดความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศผู้บริหารอาจกลายเป็นเพียงผู้บริหารเพื่อการบริหารคอยยืนอยู่บนยอดของคลื่นความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
จากบทความข้างต้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง โดยมีการนำเอาหลักการแนวคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ได้ดังนี้
1.ผู้บริหารจะมุ่งความสัมพันธ์กับบุคลากรทางการศึกษาโดยผู้บริหารจะสร้างความไว้วางใจความเคารพนับถือ และรับฟังความต้องการของบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้บริหารที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็น
2. ผู้บริหารจะมุ่งที่ความสำเร็จในงานซึ่งจะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน
การบริหารเชิงสถานการณ์ สามารถใช้ทุกทฤษฎีมาประกอบกับประสบการณ์เพื่อทำให้การตัดสินใจดีที่สุด โดยเฉพาะในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงเช่นปัจจุบันนับเป็นความท้าทายและโอกาสในการใช้การบริหารเชิงสถานการณ์ในมุมของผู้บริหารที่จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสให้ได้เป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์ต่างๆที่มีอยู่ในตัวผู้บริหารท่านนั้นให้ประจักษ์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มสมรรถภาพจริงๆที่เขามีอยู่ เพราะสถานการณ์แต่ละอย่างแตกต่างกันทฤษฎีกับบางสถานการณ์ก็แตกต่างกัน แล้วแต่ผู้บริหารแต่ละท่านจะเลือกใช้ดังนั้นการบริหารเชิงสถานการณ์ น่าจะเป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์
อ้างอิง
ภารดี อนันต์นาวี. 2553. การบริหารเชิงสกถานการณ์.
www.op.mahidol.ac.th/ia/KM/Management%20scenario. 28 สิงหาคม 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น